เกร็ดความรู้

การจัดการความยั่งยืนมิติสิ่งแวดล้อม ของบริษัท อิเดมิตสึ โคซัน จำกัด

ปัจจุบัน องค์กรต่าง ๆ มีแนวคิดการทำธุรกิจที่มุ่งเน้นไปที่ประเด็น “ความยั่งยืน” กันมากขึ้น โดยเฉพาะธุรกิจที่ใช้ต้นทุนธรรมชาติและสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ก็จะหันมาใช้หลัก ESG (Environment, Social and Governance) ในการดำเนินธุรกิจเพื่อให้เกิดความยั่งยืน ให้ความสำคัญกับทั้งมิติสิ่งแวดล้อม มิติสังคม และมิติธรรมาภิบาล ควบคู่กันไป เพื่อให้สามารถจัดการเรื่องทรัพยากรธรรมชาติและการดำเนินชีวิตประจำวัน ในลักษณะที่ส่งผลกระทบเชิงบวกทั้งต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจได้ในระยะยาว

อย่างไรก็ตาม การจัดการในมิติสิ่งแวดล้อม คือหัวใจของการดำเนินธุรกิจที่มุ่งเน้นความยั่งยืน เป็นแกนกลางของการจัดการความยั่งยืนได้ในทุกมิติ บริษัท อิเดมิตสึ โคซัน จำกัด ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมพลังงาน ก็เชื่อว่าการส่งเสริมความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องหลักในการบริหารจัดการเพื่อความยั่งยืน มีเป้าหมายที่จะรักษาสมดุลระหว่างการเติบโตทางธุรกิจกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมลงให้ได้มากที่สุด ด้วยความตระหนักถึงบทบาทในการรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม บริษัท อิเดมิตสึ โคซัน จำกัด จึงมีการกำหนดแผนการจัดการความยั่งยืนในมิติสิ่งแวดล้อม ออกเป็น 6 เรื่องหลัก ดังนี้

  1. การจัดการสิ่งแวดล้อม

เป็นเรื่องของการกำหนดนโยบายด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืน ที่ทำควบคู่ไปกับการดำเนินกิจการ โดย IDEMITSU KOSAN และกลุ่มบริษัทในเครือทั้ง 29 แห่ง (ในญี่ปุ่น 15 แห่ง และต่างประเทศ 14 แห่ง) ให้ความสำคัญกับเรื่องของสิ่งแวดล้อมเป็นอันดับแรกในทุกกิจกรรมของธุรกิจ ปฏิบัติตามกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อมเป็นมาตรฐาน และมีการดำเนินกิจกรรมเฉพาะ อย่างการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วยการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ การสร้างความตระหนักด้านสิ่งแวดล้อมให้แก่พนักงานทุกคน และส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูงเพื่อช่วยแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม

นโยบายของ IDEMITSU KOSAN และกลุ่มบริษัทในเครือ กำหนดให้ “ความปลอดภัย สุขภาพ และสิ่งแวดล้อม” เป็นรากฐานของการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม มีสำนักงานใหญ่ด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม เป็นศูนย์อำนวยการจัดทำนโยบายประจำปี คอยตรวจสอบและจัดหาทรัพยากรที่จำเป็นสำหรับการปรับปรุงแผน มีการกำหนด ดำเนินการ และทบทวนนโยบายประจำปีตามวงจร P-D-C-A เป็นระยะ สำหรับจัดทำนโยบายในปีถัดไป ผลที่ตามมาก็คือ IDEMITSU KOSAN และกลุ่มบริษัทในเครือทั้ง 29 แห่ง ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 14001 ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม (ข้อมูล ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2024)

บริษัท น้ำมันอพอลโล (ไทย) จำกัด หนึ่งในบริษัทในเครือของ IDEMITSU KOSAN โดยเป็นผู้ผลิตและจัดจำหน่ายน้ำมันหล่อลื่นภายใต้แบรนด์ idemitsu จากประเทศญี่ปุ่นในประเทศไทย ก็ได้รับมาตรฐาน ISO 14001 : 2015 ด้านระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน นี่แสดงให้เห็นถึงการรับนโยบายการจัดการสิ่งแวดล้อมของ IDEMITSU KOSAN มาปฏิบัติเพื่อให้เกิดความยั่งยืนทั้งในด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล

  1. การดำเนินการด้านความเป็นกลางทางคาร์บอน/ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

IDEMITSU KOSAN และกลุ่มบริษัทในเครือ มุ่งมั่นที่จะสร้างสังคมที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอน และมุ่งเน้นให้เกิดสังคมหมุนเวียน โดยใช้จุดแข็งของบริษัทในการมอบศักยภาพดังกล่าวแก่สังคม รวมถึงมีเป้าหมายที่จะรับผิดชอบในการปกป้องสิ่งแวดล้อมของโลกทั้งในปัจจุบัน-อนาคต และปกป้องชีวิตของผู้คน

ความพยายามในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ IDEMITSU KOSAN มีการเปิดเผยข้อมูลต่าง ๆ ตามคำแนะนำของคณะทํางานเฉพาะกิจว่าด้วยการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศ (TCFD) เพื่อบริหารจัดการความเสี่ยงและโอกาสที่เกี่ยวกับสภาพอากาศ และเพื่อสร้างสังคมความเป็นกลางทางคาร์บอนให้เกิดขึ้นจริง IDEMITSU KOSAN และกลุ่มบริษัทในเครือตั้งเป้าหมายที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งทางตรงและทางอ้อม ตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน

ที่ผ่านมา IDEMITSU KOSAN ให้ความสำคัญกับเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จึงดำเนินกิจการอย่างมีความรับผิดชอบ ซึ่งเห็นได้จากการกำหนดนโยบายด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังมีการกำหนดเป้าหมายการดำเนินกิจการระยะยาวจนถึงปี 2050 องค์กรจะก้าวไปข้างหน้าด้วยการพัฒนาเป็นสังคมแห่งนวัตกรรมและเทคโนโลยี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เทคโนโลยีพลังงานสีเขียวที่ทาง IDEMITSU KOSAN กำลังดำเนินการอยู่ เพื่อจัดหาพลังงานที่เพียงพอ ไปพร้อม ๆ กับการสร้างธุรกิจพลังงานให้มีความเป็นกลางทางคาร์บอน ในขณะเดียวกันก็ยังให้ความสำคัญกับผลประกอบการ

  1. สังคมหมุนเวียน

IDEMITSU KOSAN และกลุ่มบริษัทในเครือ เชื่อมั่นในการสร้างสังคมที่มีการหมุนเวียนของทรัพยากร ด้วยการเปลี่ยนแปลงสังคมแบบเดิมที่ให้ความสำคัญกับการผลิตจำนวนมาก การบริโภคจำนวนมาก และการกำจัดของเสียจำนวนมาก ไปสู่สังคมที่ลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ และลดภาระต่อสิ่งแวดล้อมให้ได้มากที่สุด ซึ่งนี่ถือเป็นเป้าหมายสำคัญในการบรรลุผลลัพธ์ เพราะทรัพยากรหมุนเวียน ควรถูกนำมาผ่านกระบวนการรีไซเคิลเพื่อนำกลับมาใช้ประโยชน์อีกครั้ง ภายใต้ขีดจำกัดในการนำมาหมุนเวียนใช้ซ้ำ

ส่วนทรัพยากรที่ไม่สามารถหมุนเวียนได้ ก็ต้องถูกนำมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ทว่าในระยะยาว ควรจำกัดการใช้ทรัพยากรที่ไม่หมุนเวียน และหันมาใช้ทรัพยากรหมุนเวียนอื่น ๆ ซึ่งในเวลานี้ IDEMITSU KOSAN และกลุ่มบริษัทในเครือ กำลังดำเนินการส่งเสริมโครงการต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ในปี 2050 ทั้งเทคโนโลยีการรีไซเคิลพลาสติกใช้แล้วให้กลับมาเป็นพลังงาน การรีไซเคิลแผงโซลาร์เซลล์ การรีไซเคิลแบตเตอรี่โซลิดสเตต และเทคโนโลยีการรีไซเคิลก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เพิ่มการกู้คืนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่ทาง IDEMITSU KOSAN ถือว่าเป็นทรัพยากร

  1. ความหลากหลายทางชีวภาพ

มีสิ่งมีชีวิตมากมายหลากหลายชนิดที่อาศัยอยู่บนโลก และสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ต่างก็มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันอย่างซับซ้อน โลกจึงเป็นระบบนิเวศที่ใหญ่ที่สุด IDEMITSU KOSAN และกลุ่มบริษัทในเครือ ตระหนักถึงเรื่องนี้ดี จึงมีการกำหนดเป้าหมายที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ของอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ โดยถือเป็นภารกิจสำคัญขององค์กรที่จะช่วยอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพแวดล้อม เพื่อให้สิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิดนี้สามารถอยู่อาศัยได้ และจะส่งต่อระบบนิเวศที่สมบูรณ์เช่นนี้ไปยังรุ่นต่อไปด้วย

IDEMITSU KOSAN ตระหนักดี ว่าการดำเนินกิจการขององค์กรมีการใช้ประโยชน์จากธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นดิน น้ำ อากาศ พันธุ์พืชที่หลากหลาย ทรัพยากรอื่น ๆ และระบบนิเวศ ทุนธรรมชาติทั้งหมดนี้ล้วนแล้วแต่เป็นรากฐานของกิจกรรมมากมายในอนาคตของคนรุ่นต่อ ๆ ไป จึงควรค่าแก่การรักษาไว้ให้อยู่ในลักษณะที่เหมาะสมให้ยั่งยืนสู่อนาคต นี่จึงเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ IDEMITSU KOSAN กำหนดนโยบายที่ชัดเจน ว่าจะทำทุกวิถีทางเพื่อรักษาสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ และลดความเสี่ยงที่จะสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการทำกิจกรรมทางธุรกิจ

  1. การจัดการทรัพยากรน้ำ

ความเสี่ยงด้านทรัพยากรน้ำของ IDEMITSU KOSAN และกลุ่มบริษัทในเครือ ถูกจัดให้เป็นความเสี่ยงในระดับกลุ่ม โดยเป็นส่วนหนึ่งของความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมภายนอก ความเสี่ยงจากภัยพิบัติทางธรรมชาติและอุบัติภัย และความเสี่ยงที่เกี่ยวกับกฎระเบียบด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อม

ดังนั้น การจัดการทรัพยากรน้ำของ IDEMITSU KOSAN และกลุ่มบริษัทในเครือ จึงอยู่ภายใต้นโยบายการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ตั้งแต่การใช้ทรัพยากรน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ รักษาความหลากหลายทางชีวภาพ การบำบัดน้ำเสียให้เป็นไปตามมาตรฐานก่อนปล่อยลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ ควบคุมคุณภาพของน้ำให้อยู่ในระดับที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และด้านอื่น ๆ โดยใช้ข้อมูลจากสถาบันทรัพยากรโลก (World Resources Institute: WRI) เป็นข้อมูลอ้างอิงเรื่องการจัดการทรัพยากรน้ำ

  1. ของเสีย/ สารเคมี/ มลพิษ

เรื่องการจัดการของเสีย IDEMITSU KOSAN และกลุ่มบริษัทในเครือ ตั้งเป้าหมายที่จะลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยการลดปริมาณของเสียที่เกิดขึ้นจากการดำเนินกิจการและปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ ด้วยการส่งเสริมการนำทรัพยากรหรือวัตถุดิบกลับมาใช้ซ้ำ ตามหลักของการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ

ในส่วนของการจัดการสารเคมี IDEMITSU KOSAN และกลุ่มบริษัทในเครือ ตอบสนองต่อกฎระเบียบการจัดการสารเคมีที่มีความเข้มงวดตามกฎหมายของแต่ละประเทศ จัดเก็บสารเคมีต่าง ๆ ให้ปลอดภัยจากการรั่วไหล ไม่เพียงเท่านั้น ตัวผลิตภัณฑ์ก็คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของผู้ใช้ด้วยเช่นกัน มีมาตรการทดแทน ลด และกำจัดสารอันตราย ตามการประเมินความเสี่ยงของสารเคมี มีการนำมาตรการการลดความเสี่ยงมาใช้ในการจัดการสารเคมีในผลิตภัณฑ์ และการปรับปรุงความปลอดภัยให้กับผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ ด้วยการให้ข้อมูลแก่ผู้ใช้ เกี่ยวกับสารเคมีที่มีอยู่ในผลิตภัณฑ์ของ idemitsu

การป้องกันมลพิษ IDEMITSU KOSAN และกลุ่มบริษัทในเครือ ปฏิบัติตามกฎหมายสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด และใช้มาตรการที่ยึดหลักการด้านความปลอดภัย สุขภาพ และสิ่งแวดล้อม เข้ามาเป็นข้อบังคับตามความสมัครใจ ซึ่งจะครอบคลุมการป้องกันมลพิษทางอากาศ มลพิษทางน้ำและทางทะเล และมลพิษทางดิน

  • การป้องกันมลพิษทางอากาศ มีการควบคุมมลพิษที่ถูกปล่อยออกมาจากการดำเนินงาน เช่น ซัลเฟอร์ออกไซด์ (SOx) ไนโตรเจนออกไซด์ (NOx) และเขม่าควัน ที่ปล่อยออกมาจากหม้อไอน้ำและเตาเผาความร้อน รวมถึงสารอินทรีย์ระเหยง่าย ที่ถูกปล่อยออกมาจากถังน้ำมันดิบและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมที่ใช้กับเรือและรถบรรทุก ให้เป็นไปตามที่กฎหมายเรื่องมาตรฐานการปล่อยมลพิษกำหนด
  • การป้องกันมลพิษทางน้ำและทางทะเล ให้ความสำคัญกับการพัฒนาแหล่งน้ำมันนอกชายฝั่ง กิจกรรมการขุดเจาะ ทดสอบ และพัฒนา จะต้องไม่ก่อให้เกิดมลพิษทางทะเล มีการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยผู้เชี่ยวชาญเสมอ เพื่อยืนยันว่าผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ น้ำที่ใช้ในกระบวนการ ต้องได้รับการบำบัดตามมาตรฐานน้ำเสียก่อนปล่อยสู่ทะเล และมีมาตรการป้องกันการรั่วไหลของน้ำมันลงสู่ทะเล ทั้งบริเวณแท่นขุดเจาะ และการขนส่งด้วยเรือบรรทุกน้ำมัน เรือขนาดใหญ่ขนส่งทุกลำที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน จะมีตัวถังสองชั้น อีกทั้งยังมีการฝึกซ้อมป้องกันภัยพิบัติบนเรือเป็นประจำ ให้ความรู้เรื่องความปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมแก่ลูกเรือทุกคน ไม่เพียงเท่านั้น ยังทำกิจกรรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม อย่างการแก้ปัญหาขยะพลาสติกในมหาสมุทร
  • การป้องกันมลพิษทางดิน ดำเนินการตรวจสอบโรงกลั่นน้ำมัน โรงงาน หรือสถานีบริการน้ำมัน และสถานที่อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ที่จะมีความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนสารเคมีในดินอย่างสม่ำเสมอ ป้องกันการเกิดปัญหาการรั่วไหลของน้ำมันจากท่อใต้ดิน ด้วยการดำเนินการที่มีการจัดการอย่างเหมาะสมเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการปนเปื้อน

เพราะตระหนักถึงการรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม และมีความมุ่งมั่นที่จะก้าวไปสู่ความยั่งยืนในทุกมิติ ทำให้แนวทางการจัดการความยั่งยืนในมิติสิ่งแวดล้อมของบริษัท อิเดมิตสึ โคซัน จำกัด ประเทศญี่ปุ่น คือแบบอย่างการดำเนินธุรกิจที่สร้างความยั่งยืน ด้วยมีนโยบายการดำเนินงานที่ชัดเจน ครอบคลุมทั้งเรื่องของการสร้างสังคมที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอนและสังคมหมุนเวียน เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ใส่ใจในทุก ๆ กิจกรรมที่จะสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีสีเขียวเพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและปกป้องระบบนิเวศ เพื่อให้ความยั่งยืนเกิดขึ้นได้จริงในปัจจุบันและอนาคต

บทความประชาสัมพันธ์จาก : บริษัท น้ำมันอพอลโล (ไทย) จำกัด www.apollothai.com 

ติดต่อเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ LINE ID : @apollothailand

บทความที่เกี่ยวข้อง

SAF เป็นเทคโนโลยีที่กำลังได้รับความสนใจอย่างมากในอุตสาหกรรมการบิน เนื่องจากเป็นวิธีที่จะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอุตสาหกรรมการบินได้มากถึงร้อยละ 80 ตลอดวงจรของเชื้อเพลิง

ในยุคที่ความต้องการใช้พลังงานสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยที่น้ำมันเชื้อเพลิงยังคงเป็นแหล่งพลังงานหลักสำหรับการใช้ยานพาหนะส่วนตัว ขนส่งมวลชน และขนส่งภาคอุตสาหกรรม

ปัจจุบัน “พลังงานยั่งยืน” ถูกพูดถึงบ่อยครั้งในการเป็นทางออกของนานาปัญหาสิ่งแวดล้อม เพราะไม่เพียงแต่เป็นแหล่งพลังงานที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ไม่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมาทำให้ปัญหาโลกร้อนแย่ลงกว่าเดิม แต่ยังเป็นกุญแจในการสร้างความสมดุลให้กับธรรมชาติด้วย

โครงการ “Journey of Dream - ปันพลังใจสู่อนาคต” เป็นอีกหนึ่งโครงการของ บริษัท น้ำมันอพอลโล (ไทย) จำกัด ที่จะเป็นสะพานเชื่อมโยงเด็กและเยาวชนไทยจากจุดเริ่มต้นแห่งความฝัน สู่จุดหมายปลายทางของความสำเร็จที่เป็นจริง พร้อมที่จะมอบโอกาส สนับสนุนความฝัน และปันพลังใจเพื่อมุ่งสู่อนาคต

ภาษา :

เลือกประเภทรถของคุณ

Vehicle type
Brand
Model

หมวดหมู่สินค้า